วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4

อาจารย์ได้ให้คำแนะนำการเรียนการสอน เรื่องการออกแบบเพิ่มเติม
และวิธีสร้างบรรจุภัณฑ์ และได้แนะนำเว็บไซต์ที่สร้าง กล่อง Pattern


 ที่มา : http://www.templatemaker.nl/

อาจารย์ได้สั่งการบ้าน ให้นักศึกษาไปพัฒนากล่อง Pttern มาคนละ2แบบ
ข้อมูลของต่าง ๆ ของ pttern

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เว็บบล๊อคบึนทึกและสรุปการเรียนรู้วิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3  ท่านรองศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตรได้ทำการสอนในเรื่องของ การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์โอทอป จังหวัดชัยนาท ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำการสืบค้นโดยเลือกผลิตภัณฑ์คนล่ะ1อย่าง ทำการสืบค้นข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โดยในกลุ่มที่ 3 (sweety honey) ได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ ธรรรส ซึ่งเป็นธุรกิจผลิตและแปรรูปน้ำผึ้ง
เป็นสินค้าโอทอปในจังหวัดชัยนาท โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ทำการศึกษาดังนี้คือ

1.นางสาวระรินทิพย์ ศิรเถกิงเกียรติ
 
สินค้า : น้ำผึ้งตราธรรมรส
สถานที่จำหน่าย : 123 หมู่ที่ 5 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะ โมง จังหวัดชัยนาท
ประธานกลุ่ม : คุณประไพ ปทุมสุข
เบอร์ติดต่อ : 086-206-1814
ราคาจำหน่าย : 150-

ภาพที่ 1 แสดงภาพผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งธรรมรส
ที่มา : ระรินทิพย์ ศิรเถกิงเกียรติ

2.นายธนกฤษ เจษฎาถาวรวงษ์

สินค้า : สบู่ขมิ้นน้ำผึ้ง
สถานที่จำหน่าย : 123 หมู่ที่ 5 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะ โมง จังหวัดชัยนาท
ประธานกลุ่ม : คุณประไพ ปทุมสุข
เบอร์ติดต่อ : 086-206-1814
ราคาจำหน่าย : 55

ภาพที่ 2 แสดงภาพผลิตภัณฑ์สบู่น้ำธรรมรส
ที่มา : http://thammarosbeefarm.blogspot.com/2013/07/1_4773.html

3.นายยุทธนา ศรีนาคช
สินค้า : เกสรผึ้ง 
สถานที่จำหน่าย : 123 หมู่ที่ 5 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะ โมง จังหวัดชัยนาท
ประธานกลุ่ม : คุณประไพ ปทุมสุข
เบอร์ติดต่อ : 086-206-1814
ราคาจำหน่าย : 120-

ภาพที่ 3 แสดงภาพผลิตภัณฑ์เกสรผึ้งธรรมรส
ที่มา: https://www.facebook.com/ThrrmRsFarmPhung/photos/pb.371088499680724.-2207520000.1410153409./378111038978470/?type=3&theater

4.นายชัยวัฒน์ สัทธยาสัย 
สินค้า : น้ำผึ้งมะนาว
สถานที่จำหน่าย : 123 หมู่ที่ 5 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะ โมง จังหวัดชัยนาท
ประธานกลุ่ม : คุณประไพ ปทุมสุข
เบอร์ติดต่อ : 086-206-1814
ราคาจำหน่าย : 20-

ภาพที่ 4 แสดงภาพหน้าร้านและสินค้าน้ำผึ้งมะนาว น้ำผลไม้และน้ำผึ้งธรรมรส
ที่มา : https://www.facebook.com/ThrrmRsFarmPhung/photos_stream

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

เว็บบล๊อคบึนทึกและสรุปการเรียนรู้วิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 2
สรุปผลการเรียนครั้งที่ 2


เริ่มต้นโดยการนำเสนอการแปลสรุปข่าว 3 คน ในห้องเรียน โดยอาจารย์ผู้สอนได้วิเคราะห์ข่าวของแต่ละคน 
เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

อาจารย์ผู้สอนได้แนะนำการจัดวางและตั้งค่ารูปแบบหน้าเว๊บบล็อกให้ได้ตามค่าที่อาจารย์ได้กำหนดไว้

อาจารย์ผู้สอนได้ทำการแชร์โฟลเดอร์สำหรับการส่งงาน-การบ้านใน Google Drive 


 ภาพที่ 1 ภาพโฟลเดอร์สำหรับการส่งงานที่อาจารย์ได้แชร์ให้กลุ่ม 202

ทำแบบทดสอบก่อนเรียน Pre-test ของวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์



ที่มา ::  http://clarolinethai.info/

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ความหมายที่ 1 การออกแบบบรรจุภัณฑ์

ความรู้พื้นฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางด้านการค้าสูง  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเข้มแข็งด้านการจัดการตลาด หรือการพัฒนารูปแบบคงจึงยังไม่เพียงพอ  การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสงเสริม  เพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้มีความเข้มแข็งในการทำธุรกิจและขยายตลาด  เบื้องต้นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความเป็นมาตลอดจนความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ เป็นแนวคิดในการเรียนรู้อดีต ศึกษาปัจจุบัน เพื่อก้าวไปในอนาคต ความเข้าใจเรื่องราวของบรรจุภัณฑ์ในบทนี้จะช่วยให้การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้เหมาะสม เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นทางเลือกของผู้ประกอบการ เล็งเห็นความ สำคัญในการเลือกพัฒนาบรรจุภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง  ได้อย่างโดดเด่นน่าสนใจ


 ความหมายของบรรจุภัณฑ์

นิยามของคำว่าบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ได้กล่าวไว้ ดังนี้

- กองส่งเสริมอุตสาหกรรม(2517:19) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง ภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปยังแหล่งใช้ประโยชน์ โดยความประหยัดและปลอดภัย
- นิไกโด เคล็คเจอร์(Nikaido Clecture) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมการขายกับการประสานประโยชน์ระหว่างวัตถุกับภาชนะบรรจุ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการคุ้มครองในระหว่างการขนส่งและการเก็บรักษาในคลัง
- ในพจนานุกรมใหม่ของ เว็บสเตอร์ส (Webster's new collegiate Dictionary:1956)  กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ คือ กล่องหรือหีบห่อที่ทำขึ้นเพื่อเก็บรักษาหรือเพื่อการขนส่ง
- สุดาดวง เรืองรุจิระ(2529:128) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดขบวนการทางการตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบ สร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์
- ประชิด ทิณบุตร(2531:20)กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง หน่วยรูปแบบของวัตถุภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง หรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในไม่ให้เกิดความเสียหาย  สะดวกในการขนส่ง  และเอื้อประโยชน์ในทางการค้าและต่อการบริโภค
- บริสตันและนีลล์(Briston And Neill,1972:1) ได้ให้ความหมายของบรรจุภัณฑ์ไว้ 2 ประการกว้างๆ คือ
1) การบรรจุภัณฑ์ คือ ศิลปะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการตระเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่งและการขาย
2) การบรรจุภัณฑ์ คือวิธีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์และมีราคาที่เหมาะสม



 ความหมายการออกแบบบรรจุภัณฑ์

      การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging  design) หมายถึง  การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ เพื่อการคุ้มครองป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายและเพิ่มคุณค่าด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์



ความหมายที่ 2 ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์

ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์
ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุค
การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้


ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด

ที่มา ::  http://www.mew6.com/composer/package/package_0.php

ความหมายที่ 3 ออกแบบบรรจุุภัณฑ์


ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)

ออกแบบบรรจุุภัณฑ์ : เมื่อการจดจำในแบรนด์สินค้า (Branding) สามารถสร้างให้มีอยู่ได้ในทุกที่ ดังนั้น บรรจุภัณฑ์สินค้า เช่น กล่อง หลอด ซอง กระปุก หรือตลับ จึงไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ภาชนะบรรจุ หรือ ห่อหุ้มสินค้าอีกต่อไปแต่จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าด้วยเราให้บริการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) โดยนำเอาการสร้างบุคลิกของแบรนด์ Brand Personality มาเป็นแนวคิดหลัก และ พัฒนาออกมาให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับอัตลักษณ์ของสินค้าให้มากที่สุดนี่คือความใส่ใจของเราที่จะสร้างมูลค่าทางการตลาด (Value Added) ให้กับสินค้าของคุณ
บริการของเรา : รับผลิตบรรจุุภัณฑ์ เครื่องสำอาง (Cosmetic Packaging Design) อาทิ หลอดบรรจุุภัณฑ์ เครื่องสำอาง (Cosmetic tube Packaging), ออกแบบบรรจุภัณฑ์ & ผลิตกระปุกบรรจุุภัณฑ์ เครื่องสำอาง (Cosmetic Bottle Packaging), บรรจุุภัณฑ์ สำหรับใส่อาหาร (Food Packaging) และ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับใส่อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ (Other Packaging), ออกแบบผลิตภัณฑ์ / ออกแบบบรรจุภัณฑ์ / รับออกแบบบรรจุภัณฑ์

ที่มา :: http://allideastudio.co.th/packaging-design/



ความหมายที่ 4  การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 

ในบางครั้งลู่ทางที่ดีที่สุดสำหรับเน้นย้ำให้เห็นถึง ความสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาจจะต้องนำเอาจำนวนที่ใช้จ่ายไปเข้ามา กล่าวอ้าง เช่น ในปี ค.ศ. 1980 สหรัฐอเมริกา ใช้เงินมากกว่า 50 พันล้านเหรียญไปในการใช้จ่ายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์มากกว่าการโฆษนา โดยมีเหตุผลว่าการบรรจุภัณฑ์เป็นแนวโน้ม ต่อไปในการที่จะเข้าถึงการบริการตนเอง ( trend toward selef service) ที่ต้องการให้บรรจุภัณฑ์ได้แสดงบทบาทหลัก 2 ประการไปพร้อมๆกันคือ ทั้งโฆษนาและ การขาย ( advertising and selling) ดังนั้น บรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่แสดงรวมไว้ซึ่งรูปร่างลักษณะของภาชนะบรรจุ ( container) และการออกแบบ สีสัน รูปร่าง ตราฉลาก ข้อความโฆษนาประชาสัมพันธ์ในการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ใด ๆ ก็ตามควรที่จะ มีข้อพิจารณาตามปัจจัยหลัก 3 ประการอย่างกว้าง ๆ ต่อไปนี้คือ    

           1. ทำอย่างไรบรรจุภัณฑ์ จึงจะสื่อสารได้ทั้งวจนสัญลักษณ์และทัศนสัญลักษณ์ ( how it communicates verbally and nonverbally ) เช่น ออกแบบภาชนะบรรจุห่อขนมปัง ด้วยพลาสติก ที่นอกจากจะแสดงให้เห็นถึง ความสดชื่นด้วยสีและการตกแต่งแล้วก็ยังสร้าง ความรู้สึกใหม่สดจากเตาอบให้เกิดแก่ผู้บริโภคได้อีกด้วย 
           2. บรรจุภัณฑ์ควรจะสร้างความพึงพอใจ เกียรติ และศักดิ์ศรีสำหรับผู้ใช้ ( the prestige desired) แม้ว่าผู้บริโภคจะซื้อผลิตภัณฑ์นั้นไปแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปนั้นควรต้องทำ หน้าที่ขายต่อไปได้อีก เพราะการขายนั้นมิได้สิ้นสุดเพียงที่จุดซื้อ ( point of purchase) เท่านั้น แต่บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องสร้างความต่อเนื่อง ในการนำมาใช้และการขายหลังจากที่ถูกซื้อไปแล้ว ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นจะถูกนำไปวางอยู่ที่ใดก็ตาม หรือ จนกว่าผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นั้นจะใช้หมดหรือถูกทำลายไป จึงถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ยกตัวอย่างเช่น สินค้าประเภทบุหรี่ บุหรี่และ ซองบุหรี่จะต้องถูกนำออกมาใช้จนกว่าบุหรี่จะหมดถึง 20 ครั้งด้วยกัน และการนำบุหรี่มาสูบแต่ละครั้งก็มักอยู่ในสายตาของเพื่อน ผู้ร่วมงานหรือผู้ใกล้ชิดตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เอง การออกแบบบรรจุภัณฑ์บุหรี่จึงต้องออกแบบให้สามารถสร้างความพอใจ มั่นใจ และเกิดความรู้สึกว่าเหมาะสมกับศักดิ์ศรีของผู้ใช้ที่นำออกมา ถึงแม้ว่าบุหรี่ จะถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็น ต่อชีวิต ( irrational product) ก็ตามแต่ถ้าได้รับการออกแบบที่ดีก็สามารถจะนำมาซึ่งการตัดสินใจซื้อด้วย เหตุผลเป็นส่วนตัว ตามอำเภอใจและสามารถส่งเสริมการขายได้อีกด้วย 
            3. บรรจุภัณฑ์จะต้องแสดงความโดดเด่นออกมา ( its stand out appeal) ให้ชัดเจนจากผลิตภัณฑ์อื่น ด้วยการใช้รูปร่าง สี หรือขนาด เพื่อบ่งชี้เอกลักษณ์เฉพาะของผลิตภัณฑ์ สามารถจดจำได้ง่าย หรือกยิบฉวยได้ไวในร้านค้า เป็นที่ติดตาตรึงใจเรียกหาใช้ได้อีก         

  ที่มา ::  http://www.packagingbenny.siam.im/unitfour.html

ความหมายที่ 5  การออกแบบบรรจุภัณฑ์ : องค์ประกอบการออกแบบ


การออกแบบบรรจุภัณฑ์ : องค์ประกอบการออกแบบ


รายละเอียดหรือส่วนประกอบบนบรรจุภัณฑ์จะแสดงออกถึงจิตสำนึกของผู้ผลิตสินค้าและสถานะ (Class) ของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถขยับเป็นสื่อโฆษณาระยะยาว ส่วนประกอบที่สำคัญบนบรรจุภัณฑ์อย่างน้อยที่สุด
เมื่อมีการเก็บข้อมูลของรายละเอียดต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วจึงเริ่มกระบวนการออกแบบด้วยการเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับมาเป็นกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ จุดมุ่งหมายทั่ว ๆ ไปในการออกแบบมีดังนี้
1. เด่น (Stand Out) ภายใต้สภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง ตัวบรรจุภัณฑ์จำต้องออกแบบให้เด่นสะดุดตา (Catch the Eye) จึงจะมีโอกาสได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายเมื่อวางประกบกับบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่ง เทคนิคที่ใช้กันมาคือ รูปทรงและขนาดซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของบรรจุภัณฑ์หรืออาจใช้การตั้งตราสินค้าให้เด่น
2. ตราภาพพจน์และความแตกต่าง (Brand Image Differentiate) เป็นความรู้สึกที่จะต้องก่อให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายเมื่อมีการสังเกตเห็น แล้วจูงใจให้อ่านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์การออกแบบตราภาพพจน์ให้มีความแตกต่างนี้ เป็นวิธีการออกแบบที่แพร่หลายมากดังได้บรรยายไว้ในหัวข้อทฤษฎีตราสินค้าตราสินค้า (Brand)
3. ความรู้สึกร่วมที่ดี การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อศิลปะที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยรวม เริ่มจากการก่อให้เกิดความสนใจด้วยความเด่น เปรียบเทียบรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้ตัดสินใจซื้อ และจบลงด้วยความรู้สึกที่ดีที่สามารถสนองต่อความต้องการของผู้ซื้อได้ จึงก่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของและอยากทดลองสินค้าพร้อมบรรจุภัณฑ์นั้น
ตราสินค้า (Brand) หมายถึง ชื่อ ข้อความ สัญญลักษณ์หรือรูปแบบหรือสิ่งเหล่านี้รวมกัน เพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงสินค้า หรือบริการของผู้ขายหรือกลุ่มของผู้ขายที่แสดงความแตกต่างจากคู่แข่งขัน
ตราสินค้าหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างรวมกัน คือ
- ชื่อตรา (brandname) ส่วนของตราที่เป็นชื่อหรือคำพูดหรือข้อความซึ่งออกเสียงได้ เช่น ซันโย ฟิลิปส์
- เครื่องหมายตราสินค้า (brandmark) ส่วนหนึ่งของตราซึ่งสามารถจดจำได้แก่ ออกเสียงไม่ได้ ได้แก่ สัญลักษณ์ รูปแบบที่ประดิษฐ์ต่าง ๆ หรือรูปภาพตลอดจนสีสรรที่ปรากฏอยู่ในเครื่องหมายต่าง ๆ เหล่านี้
- เครื่องหมายการค้า (trademark) ส่วนหนึ่งของตราหรือตราที่ได้จดทะเบียนการ เพื่อป้องกันสิทธิตามกฎหมายแต่ผู้เดียว
- ลิขสิทธิ์ (copyright) สิทธิตามกฎหมายในสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ
- โลโก้ (logo) เป็นเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ของกิจการหรือองค์การหนึ่ง ๆ

ที่มา ::  http://advertising.clickingme.com/index.php/2009-11-17-17-31-26/68-design-factor